ตอบ ข้อ 1.
สืบค้นข้ิมูล
ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยไฮโดรเจนอยู่ร้อยละ 74 โดยมวล ฮีเลียมร้อยละ 25 โดยมวล และธาตุอื่นๆ ในปริมาณเล็กน้อย ดวงอาทิตย์จัดอยู่ในสเปกตรัม G2V ซึ่ง G2 หมายความว่าดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,780 เคลวิน (ประมาณ 5,515 องศาเซลเซียส หรือ 9,940 องศาฟาเรนไฮ) ดวงอาทิตย์จึงมีสีขาว แต่เห็นบนโลกเป็นสีเหลือง เนื่องจากการกระเจิงของแสง ส่วน V (เลข 5) บ่งบอกว่าดวงอาทิตย์อยู่ในลำดับหลัก ผลิตพลังงานโดยการหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม และอยู่ในสภาพสมดุล ไม่ยุบตัวหรือขยายตัว
ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากศูนย์กลางดาราจักรทางช้างเผือกเป็น ระยะทางโดยประมาณ 26,000 ปีแสง ใช้เวลาโคจรครบรอบดาราจักรประมาณ 225-250 ล้านปี มีอัตราเร็วในวงโคจร 215 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 1 ปีแสง ทุกๆ 1,400 ปี[4]
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C
ตอบ ข้อ3.
สืบค้นข้อมูล
- หินไรโอไลต์และหินแอนดีไซต์ เป็นหินที่เย็นและแข็งตัวมาจากลาวาที่มีความหนืดสูงไหลหลาก มาจากปล่องภูเขาไฟที่ระเบิดไม่รุนแรง พบรอบปล่องภูเขาไฟรูปโดม เป็นหินที่เย็นตัวอย่างช้าๆ จึงมีเนื้อแน่น ละเอียด มีดอกและสีต่างๆ
- หินบะซอลต์ เป็นหินภูเขาไฟที่เกิดจากการระเบิดแล้วไหลออกมาแข็งตัวภายนอก เนื้อหิน เย็นตัวและแข็งตัวจากลาวาที่มีไอน้ำหรือแก๊สปนอยู่ จึงมีเนื้อแน่นละเอียดและมีรูพรุน
- หินทัฟฟ์ เป็นหินภูเขาไฟที่เกิดจากการแข็งตัวของเศษหินต่างๆ ที่พ่นขึ้นมาจากปล่องภูเขาไฟ เนื่องจากการระเบิดของภูเขาไฟอย่างรุนแรง จึงมีเนื้อแน่น ประกอบด้วยเศษหินละเอียดต่างๆ
- หินออบซิเดียน เป็นหินภูเขาไฟที่เกิดจากการเย็นตัวและแข็งตัวอย่างรวดเร็วของแมกมา จึงมีลักษณะเป็นเนื้อแก้ว ไม่มีรูปผลึก
- หินพัมมิซและหินสคอเรีย เป็นหินภูเขาไฟที่เกิดจากการเย็นตัวและแข็งตัวอย่างรวดเร็วของแมกมากลายเป็น ก้อนแก้วที่มีฟองอากาศเป็นรูพรุนอยู่ภายใน แรงระเบิดทำให้แตกออก จึงเป็นเศษหินที่มีรูพรุน คล้ายรังผึ้ง น้ำหนักเบา ลอยน้ำได้ สิ่งที่ต่างกันระหว่างหินพัมมิซและหินสคอเรีย คือ หินพัมมิซมีสีอ่อน ส่วนหินสคอเรียมีสีเข้ม
http://www.krugoo.net/archives/386
ตอบ ข้อ 3.
สืบค้นข้อมูล
การเคลื่อนที่ของ แผ่นธรณีภาค
รอยต่อของแผ่นธรณีภาค มี 3 ลักษณะ ได้แก่
1.รอยที่เกิดจากแผ่นดินแยกออกจากกัน ได้แก่.กลางมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดเป็นร่องลึก
2.รอยที่เกิดจากการชนกันแล้วมีการมุดตัวของแผ่นมหาสมุทรลงใต้พื้นทวีป ได้แก่ทางด้านตะวันตกของ อเมริกาเกิดเป็นร่องลึก หรือชนกันแล้วยกตัวสูงขึ้นเป็นเทือกเขาเช่นเทือกเขาหิมาลัย
3.เกิดเป็นรอยแตกเฉือนกันในแนวราบ ในหลายแห่งของโลก
ขอบแผ่นธรณีภาคแยกออกจากกัน เนื่องจากการดันตัวของแมกมาในชั้นธรณีภาค ทำให้เกิดรอยแตกในชั้นหินแข็ง จนแมกมาสามารถถ่ายโอนความร้อนสู่ชั้นเปลือกโลกได้ อุณหภูมิและความดันของแมกมาจึงลดลง เป็นผลให้เปลือกโลกตอนบนทรุดตัวกลายเป็นหุบเขาทรุด ในระยะเวลาต่อมาเมื่อมีน้ำไหลมาสะสมเกิดเป็นทะเล และเกิดเป็นรอยแตกจนเป็นร่องลึก เมื่อแมกมาเคลื่อนตัวแทรกขึ้นมาตามรอยแตกจะทำให้แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร เคลื่อนตัวแยกออกไปทั้งสองข้าง พื้นทะเลขยายกว้างออกไปทั้ง 2 ด้านเรียกกระบวนการนี้ว่า การขยายตัวของพื้นทะเล
(sea floor spreading) และปรากฏเป็นเทือกเขากลางมหาสมุทร เช่นบริเวณทะเลแดง อ่าว
แคลิฟอเนียร์ รอยแยกแอฟริกาตะวันออก มีลักษณะเป็นหุบเขาทรุด มีร่องรอยการแยก เกิดแผ่นดินไหวตื้นๆมีภูเขาไฟและลาวาอยู่ใต้มหาสมุทร
โครงสร้างของโลกตั้งแต่เปลือกโลกลึกลงไปจนถึงชั้นเนื้อโลกตอนบนมีสถานะเป็น ของแข็งประกอบด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ เรียกว่า ชั้นธรณีภาค และจากชั้นเนื้อโลกตอนล่างลงไปยังมีลักษณะเป็นของเหลวร้อน อุณหภูมิสูง ความดันสูง ธรณีภาคเมื่อได้รับความร้อนและความดันมาก ๆ จะแตกออกเป็นแผ่น ๆ และเคลื่อนที่ไปตามแรงดันของแมกมาที่อยู่ด้านล่างซึ่งเคลื่อนที่วนตามกระแส ของการพาความร้อน แมกมาจะแทรกดันขึ้นมาบนพื้นผิวโลกตามรอยแตกรอยแยกของแผ่นธรณีภาคอยู่ตลอด เวลา ทำให้ธรณีภาคบนพื้นผิวโลกเกิดเป็นร่องรอย เป็นภูมิสัณฐานรูปแบบต่าง ๆ กัน และเกิดปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาตามรอยแยกของแผ่นธรณีภาคต่าง ๆ อีกด้วย
ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนเข้าหากัน แนวแผ่นธรณีภาคชนหรือมุดกันเป็นไปได้ 3 แบบ คือ
2. แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรเคลื่อนที่เข้าหาแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป ทำให้เกิดรอยคดโค้งเป็นเทือกเขาบนแผ่นธรณีภาค ภาคพื้นทวีป
3. แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีปเคลื่อนที่เข้าหาแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีปเกิดเป็น เทือกเขา ในแผ่นภาคพื้นทวีป เช่นภูเขาหิมาลัย เทือกเขาแอลป์ในทวีปยุโรป
http://www.anek2009.ob.tc/earth_astro/eart5.htm
ตอบ ข้อ 4.
สืบค้นข้อมูล
หินดินดาน (อังกฤษ: Shale) เป็นหินตะกอนเนื้อเม็ด (clastic sedimentary rock) ที่มีเนื้อละเอียดมาก มีองค์ประกอบของโคลนที่มีแร่ดิน (clay minerals) ปนกับเศษแร่ที่มีขนาดทรายแป้ง โดยเฉพาะแร่ควอร์ตซ์ และแร่แคลไซต์ โดยจะมีสัดส่วนองค์ประกอบของแร่ที่แปรเปลี่ยนไปอย่างกว้างขวาง ลักษณะเด่นของหินดินดานนี้จะมีฟิสซิลิตี (fissility) ที่เห็นเป็นแนวรอยแตกขนานไปกับชั้นบางๆที่มักมีความหนาน้อยกว่า 1 เซนติเมตร ส่วนหินโคลน (mudstone) นั้นองค์ประกอบจะคล้ายกับหินดินดานแต่จะไม่แสดงลักษณะฟิสซิลิตี หินดินดาน (Shale)
เป็นหิน ตะกอนเนื้อละเอียดมาก เนื่องจากประกอบด้วยอนุภาคทรายแป้งและอนุภาคดินเหนียวทับถมกันเป็นชั้นบางๆ ขนานกัน เมื่อทุบหินจะแตกตัวตามรอยชั้น (ฟอสซิลมีอยู่ในหินดินดาน) ดินเหนียวที่เกิดดินดานใช้ทำเครื่องปั้นดินเผา และเซรามิก
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%99
ตอบ ข้อ 2.
สืบค้นข้อมูล
นักธรณีวิทยาพบว่าเปลือกโลกมิ ได้รวมติดกันเป็นแผ่นเดียวโดยตลอด มีรอยแยกอยู่ทั่วไปซึ่งรอยแยกเหล่านี้อยู่ลึกลงไปจากผิวโลก เปลือกโลกแบ่งเป็นแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ 6 แผ่น และแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กอีกหลายแผ่น
รูป แผ่นเปลือกโลก แสดง รอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก (1 แผ่นยูเรเซีย 2 แผ่นอเมริกา 3 แผ่นแปซิฟิก 4 แผ่นออสเตรเลีย 5 แผ่น แอนตาร์กติกา 6 แผ่นแอฟริกา)
จากรูป แผ่นเปลือกโลก จะเห็นว่าเปลือกโลกประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ 6 แผ่น ดังนี้
1. แผ่นยูเรเซีย เป็นแผ่นโลกที่รองรับทวีปเอเซียและ ทวีปยุโรป และพื้นน้ำบริเวณใกล้เคียง
2. แผ่นอเมริกา แผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้และพื้นน้ำ ครึ่งซีกตะวันตกของมหาสมุทรแอนแลนติก
3. แผ่นแปซิฟิก เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับมหาสมุทรแปซิฟิก
4. แผ่นออสเตรเลีย เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปออสเตรเลีย ประเทศอินเดีย และพื้นน้ำระหว่างประเทศออสเตรเลียกับประเทศอินเดีย
5. แผ่นแอนตาร์กติกา เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอนตา ร์กติกา และพื้นน้ำโดยรอบ
6. แผ่นแอฟริกา เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอฟริกา และพื้นน้ำรอบๆ ทวีป นอกจากนี้ยังมีแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กอีกด้วย เช่น แผ่นฟิลิปปินส์ ซึ่งรองรับประเทศฟิลิปปินส์ เป็นต้น
http://mkpayap.payap.ac.th/course/myweb/continental%20drift/Continental_Drift.htm
ตอบ ข้อ 4.
สืบค้นข้อ
แผ่นดินไหว เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อลดความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลกออกมา เพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทำนายเวลา สถานที่ และความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ดังนั้นจึงควรศึกษา เรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการเกิดของแผ่นดินไหวที่แท้จริง เพื่อเป็นแนวทางในการลดความเสียหายที่เกิดขึ้น
สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว
การเกิดแผ่นดินไหวมีสาเหตุมาจาก 2 สาเหตุใหญ่ สาเหตุแรกเกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ การทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ำในเขื่อน และแรงระเบิดจากการทำเหมืองแร่ ส่วนสาเหตุที่สองเป็นสาเหตุหลักของการเกิดแผ่นดินไหว โดยเป็นการเกิดตามธรรมชาติอันเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ทั้งนี้ทฤษฎีกลไกการเกิดแผ่นดินไหวที่ยอมรับกันในปัจจุบันมี 2 ทฤษฎีคือ
ทฤษฎีว่าด้วยการขยายตัวของเปลือกโลก โดยแผ่นดินไหวเกิดจากการที่เปลือกโลกเกิดการคดโค้ง โก่งตัวอย่างฉับพลัน และเมื่อวัตถุขาดออกจากกันจึงปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแผ่นดินไหว
ทฤษฎีว่าด้วยการคืนตัวของวัตถุ โดยแผ่นดินไหวมาจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน กล่าวคือ เมื่อรอยเลื่อนเกิดการเคลื่อนตัวถึงจุดหนึ่งวัตถุจะขาดออกจากกันและเสีย รูปอย่างมาก พร้อมทั้งปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมาในรูปของคลื่นแผ่นดินไหว และหลังจากนั้นวัตถุจะคืนตัวกลับสู่รูปเดิม
ที่มา
ตอบ ข้อ 4.
สืบค้นข้อมูล
“ซากดึกดำบรรพ์” เป็นร่องรอยของพืชและสัตว์ ที่ปรากฏอยู่ในหิน ส่วนมากจะพบในหินตะกอนมากกว่าหินชนิดอื่น อาจพบในหินภูเขาไฟบ้างแต่น้อยมาก ซากดึกดำบรรพ์ในหินจะบ่งถึงสภาพแวดล้อม และชนิดของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ ณ ที่นั้นในขณะเวลาที่เกิดการสะสมตะกอน
ซากดึกดำบรรพ์ของไครนอยด์ที่พบ ในหิน แอนดีไซต์ ซึ่งเป็นหินภูเขาไฟที่เขาชนโถ จังหวัดเพชรบูรณ์ ไครนอยด์เป็นสัตว์ทะเล ที่มีลักษณะคล้ายต้นไม้ ส่วนที่เห็นเป็นสีขาวในภาพ เป็นส่วนลำต้นทั้งด้านตัดตามยาว และตัดขวาง (ที่มีรูตรงกลาง) อายุประมาณ 250 ล้านปี |
ที่มา
http://www.ipst.ac.th/science/know_08.shtmlตอบ ข้อ 3.
สืบค้นข้อ
ฐานธรณีภาค (อังกฤษ: Asthenosphere; มีรากศัพท์จากภาษากรีก "asthenēs" แปลว่า "ไม่แข็งแรง" และ "sphere" แปลว่า "โลก") เป็นส่วนที่มีลักษณะยืดหยุ่นตั้งอยู่ในชั้นหินหนืดตอนบนของโลกและตั้งอยู่ ใต้ชั้นธรณีภาค ฐานธรณีภาคมีขอบเขตที่ระดับความลึกระหว่าง 100 – 200 กิโลเมตรจากชั้นพื้นผิว แต่สามารถขยายตัวไปจนถึงระดับความลึก 400 กิโลเมตร
[แก้] ลักษณะ เฉพาะ
ฐานธรณีภาคเป็นส่วนหนึ่งของชั้นหินหนืดตอนบนและวางตัวใต้ ชั้นธรณีภาค นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ความร้อนและความดันทำให้ชั้นธรณีภาคมีลักษณะหลอมและมีความหนาแน่นต่ำ คลื่นไหวสะเทือนมี ความเร็วต่ำเมื่อเคลื่อนผ่านชั้นฐานธรณีภาคเมื่อเทียบกับชั้นธรณีภาค เรียกว่า บริเวณความเร็วคลื่นต่ำและความเร็วของคลื่นไหวสะเทือนจะลดลงเมื่อความแข็ง แกร่งของชั้นนั้นๆ ลดลง ใต้แผ่นสมุทรซึ่งมีขนาดบางระดับชั้นฐานธรณีภาคจะอยู่ไม่ห่างจากระดับพื้นผิว และจะห่างไม่กี่กิโลเมตรเมื่ออยู่ในบริเวณเทือกเขากลางสมุทรบริเวณส่วนบนของชั้นฐานธรณีภาคเป็นชั้นที่มีความแข็งและมีชั้นธรณีภาคซึ่งรวมไปถึงชั้นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที ด้วยสภาวะที่มีความร้อนและความดันสูงทำให้หินส่วนนี้มีความยืดหยุ่นและ สามารถเคลื่อนที่ได้ตั้งแต่ไม่กี่เซนติเมตรต่อปีไปจนถึงเคลื่อนได้เป็นระยะ ทางหลายพันกิโลเมตร อย่างไรก็ตามการไหลของหินหนืดเป็นลักษณะกระแสวนและมีการแผ่รังสีความร้อนออก มาจากภายในโลก สำหรับหินที่อยู่เหนือชั้นฐานธรณีภาคจะมีความยืดหยุ่น, เปราะและแตกหักซึ่งทำให้เกิดรอยเลื่อนได้ ชั้นธรณีภาคซึ่งมีความแข็งกว่าจะลอยหรือเคลื่อนที่อย่าง เชื่องช้าบนชั้นฐานธรณีภาคทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของชั้นเปลือกโลก
ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84การบ้าน
สืบค้นข้อมูลเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 ลิงค์
2. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99_(%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2)
3. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3
4. http://www.thaigoodview.com/node/83088
5. http://armno.in.th/content/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%87
6. http://pirun.kps.ku.ac.th/~b4928013/page5.html
7. http://www.thaibizcenter.com/knowledgecenter.asp?kid=203
8. http://www.benchama.ac.th/stdweb/eclipse/thai.html
9. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C
10. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B8%81
ข้อมูล รุปภาพมีครบ
ตอบลบดูรู้เรื่อง ให้ 115 คะแนนจ๊ ^^
ให้ 115 คะแนน จ้า
ตอบลบให้ 115 คะเเนนนะ
ตอบลบให้ 115 คะแนน..
ตอบลบ